วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

IT'S ME

*My name is  'Natnaree   Saiwijit'
Please call me 'Som-o'
*I'm studying at Nakhonsithammarat Rajabhat university (Education faculty-English major)
*Student number : 5411114008
*I want to be a good teacher for all student and to be a honest teacher.
*I love English language but I have to train more.
*You can talk with me :
1.Facebook : som-o-' nnr
2.In this blog



"Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them."
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ




วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

English language teaching: Computer assisted language learning: CALL ;Thai learner

..CALL FOR THAI LEARNER..

Introduction



       จากความแพร่หลายของภาษาอังกฤษผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
  การแลกเปลี่ยนค้าขาย  การศึกษาเรียนรู้   ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศ    และเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการติดต่อสื่อสารในทุกๆประเทศ  ในประเทศไทย  ภาษาอังกฤษได้รับการไตร่ตรองแล้วว่าเป็นหนึ่งในภาษาหลักที่ใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน  และวิทยาลัย   อันเป็นผลให้เกิดการพัฒนาความสามารถของนักเรียนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษ 
   การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยนั้นประสบกับปัญหาความก้าวหน้าอย่างเชื่องช้า         ดังนั้น  ภายใต้ความต้องการที่จะปรับปรุง  แก้ไข  ELT  ในประเทศไทย  พวกเขาจำเป็นที่จะต้องกระตือรือร้นในการวินิจฉัยถึงกลยุทธ์ในการสอนภาษาอังกฤษในหมู่นักเรียนชาวไทย  ภายใต้ความต้องการของผลวิชาภาษาอังกฤษที่มีอยู่ในระดับชาติ  และสามารถที่จะประสบผลสำเร็จในการเข้าร่วมสังคมระดับชาติได้อย่างเต็มรูปแบบ   เนื่องจากประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์  และการศึกษาด้านเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันนี้  คอมพิวเตอร์มีเข้ามาและมีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตของเรา  ในการติดต่อสื่อสาร
Warschauer  ได้กล่าวไว้ว่า “ เทคโนโลยี  และอินเทอร์เน็ตมีบทบาทในการสอนภาษาที่สอง  หรือภาษาต่างประเทศและเปรียบเสมือนผู้ช่วยของครูผู้สอน ”  อย่างที่เห็นกันได้ชัด  สื่อการสอนภาษาที่เข้ามานั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากกับการสอนภาษาในทุกวันนี้  อาทิเช่น  หนังสือเรียน  โปรแกรมหลักสูตร  และพจนานุกรม  ถูกรวบรวมและเพิ่มเติมโดยสื่ออื่นๆ  เช่น  แผ่นซีดี  วีดีโอ  ที่ซึ่งเป็นความประสงค์ของคอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยี

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Computer Assisted ...


Computer-Assisted Instruction




               CAI ย่อมาจากคำว่า Computer-Assisted Instruction               
       คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้อร์ช่วยสอน ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้

คุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มี 4 ประการ ได้แก่

1. สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้

2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด

3. การโต้ตอบ (Interaction) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด

4.การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน
2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน


ข้อพึงระวังของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

* ผู้สอนจะต้องมีความพร้อม ความชำนาญในการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
* ผู้สอนควรมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนให้รอบคอบ ก่อนนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้อย่างเหมาะสม
* การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ๆ
* ผู้ที่สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรที่คำนึงเวลาในการผลิตว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานนั้นต้องใช้เวลาเท่าไร 

              

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในประเทศไทย

                               การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในประเทศไทย


คอมพิวเตอร์มมีบทบาทเข้ามาช่วยสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย
            จากความแพร่หลายของภาษาอังกฤษผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  การแลกเปลี่ยนค้าขาย  การศึกษาเรียนรู้   ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศ    และเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการติดต่อสื่อสารในทุกๆประเทศ  ในประเทศไทย  ภาษาอังกฤษได้รับการไตร่ตรองแล้วว่าเป็นหนึ่งในภาษาหลักที่ใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน  และวิทยาลัย   อันเป็นผลให้เกิดการพัฒนาความสามารถของนักเรียนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษ 


การพัฒนาครั้งนี้คือการตอบสนองคำสั่งทักษะภาษาอังกฤษในสถานที่ทำงาน เพราะฉะนั้นหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยมีการเคลื่อนย้ายวิชาเลือกเป็นภาษาอังกฤษเหมือนกับวิชาหลัก มีการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ มีอิสระในการทำงาน และมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ


ดังนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันคือโครงการที่จะได้รับผลทั้งหมดที่หลากหลายของการการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ซึ่งได้แบบอย่างมาจากประเทศอังกฤษ ให้ครูได้ศึกษาและพัฒนาเป้าหมายวิธีการในการสอนและการประเมินค่


การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย

                    CALL ได้กลายเป็นทางเลือกทางหนึ่งที่ดึงดูดใจในรูปแบบดั้งเดิมของการเสริมหรือการแทนที่ปฏิสัมพันธ์ของครูและนักเรียนโดยตรงได้ เช่น ห้องปฏิบัติการทางภาษาหรือเทปเสียงการศึกษาด้วยตนเอง บทความนี้ส่วนใหญ่เน้นและแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่มีศักยภาพของโปรแกรม CALL ที่สามารถเล่นในห้องเรียนภาษา อีกทั้งเป็นตัวช่วยที่มีความสำคัญในการเรียนการสอน หรือเป็นเครื่องมือในการการเรียนการสอน บทความนี้กล่าวถึง CALL ว่าทำไมถึงเป็นสิ่งที่สำคัญในพื้นที่ของการเรียนการสอนภาษาและการเรียนรู้สถานการณ์ รวมถึงการพัฒนาของโปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะ ในการสอนภาษาครูและผู้เรียนมีความคาดหวังในการการออกแบบโปรแกรมและประยุกต์วิธีการใช้ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคาม ของการทำงานทั้งสองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของไทย

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


                          ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน



บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยทั่วไป สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้

1. สอนเนื้อหารายละเอียด (Tutorials)

      โปรแกรมช่วยสอนเนื้อหารายละเอียด หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้นักเรียน
เรียนรู้ เนื้อหาอหลักการใหม่ๆ ด้วยการเสนอเนื้อหาและคำถามคำตอบระหว่างบทเรียน
และนักเรียน โปรแกรมจะแสดงเนื้อหาที่จะสอนแล้วตั้งคำถามให้ นักเรียนตอบต่อจากนั้น
โปรแกรมจะวิเคราะห์คำตอบแล้วตัดสินว่า จะแสดงเนื้อหาต่อไปหรือให้นักเรียนตอบคำถามใหม่

2. การฝึกทักษะ (Drill and Practice)

      หลังจากที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหารายละเอียดแล้ว สิ่งจำเป็นคือการมีโอกาสได้ฝึกทักษะ
หรือฝึกปฏิ บัติซ้ำๆ เพื่อที่จะนำความรู้ ที่ได้เรียนแล้วไปใช้ได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วหรือ
ที่เรียกกันว่าใช้ได้โดยอัตโนมัติ การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการฝึกทักษะได้เป็นที่นิยมกันมาก  
เนื่องจากมีความชัดเจนในการนำมาใช้เฉพาะวัตถุประสงค์

3. การจำลองสถานการณ์ (Simulations)

      โปรแกรมการจำลองสถานการณ์ในการเรียนการสอน เป็นวิธีการเลียนแบบ
หรือสร้างสถานการณ์เพื่อทดแทนสภาพจริงในชีวิตประจำวัน สำหรับการเรียนรู้ในชั้นเรียน
เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักเรียน

4. เกมการสอน (Instructional games)

      การใช้โปรแกรมเกมเพื่อการสอนกำลังเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากเป็นสิ่ง
ที่ท้าทายความมานะพยายามและสามารถกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ได้
โดยง่าย นอกจากนี้การใช้เกมยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้ดีขึ้นเนื่องจากมีภาพ
แสงสี เสียงและกราฟิคที่ มีการเคลื่อนไหวได้ จึงทำให้นักเรียนตื่นตัวอยู่เสมอ

5. การสาธิต (Demonstration)

      โปรแกรมการสาธิต มีจุดประสงค์ เพื่อสาธิตประกอบการสอน
หรือบรรยายเนื้อหาหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเพื่อช่วยผู้เรียนให้เข้าใจสิ่งที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น
เช่น การเขียนกราฟแสดงรายละเอียด การสาธิตการเกิดสุริยุปราคา หรือสาธิตการ
โคจรของดวงดาว เป็นต้น


6. การแก้ปัญหา (Problem - Solving)

      เป็นบทเรียนสำหรั บใช้เรียนรู้และการคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจ โดยมีการกำหนด
เกณฑ์ให้แล้วให้ นักเรียนพิจารณาตามโปรแกรมนั้น  การแก้ปัญหาแบ่ง
ได้เป็น 2 ชนิด คือ โปรแกรมที่ให้นักเรียนเขียนเอง และโปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้วเพื่อช่วย
นักเรียนในการแก้ปัญหา

7. การทดสอบ (Tests)

      การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการทดสอบ มีบทบาทในการเป็นเครื่องมือประเมินผล
การเรียนของนักเรียนทั้งก่อนเริ่มเรียน ระหว่างเรียนและหลังการเรียน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้สอน
มีความรู้สึกเป็นอิสระจากการกฎเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับการทดสอบอีกด้วยเนื่องจากคอมพิวเตอร์  ช่วยเปลี่ยนแปลงการทดสอบแบบเดิมๆให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนได้โดยอาจจะให้ผลย้อนกลับโดยทันทีหรือประเมินผลหลังจากทำแบบทดสอบเสร็จ

8. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)


      ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะ
เรื่องโดยใช้หลักปัญญาประดิ ษฐ์ และวิธีการฐานความรู้ มาใช้เพื่อจัดเตรียม เก็บข้อมูลและข้อเท็จจริง
โดยใช้ความรู้และกระบวนการอนุมานในการแก้ปัญหาที่มีความยุ่งยากในระดับที่ต้องใช้ประสบการณ์ความรู้ ความเชี่ยวชาญของมนุษย์